AI is Now มองทิศทางพัฒนา AI ที่ใช้ได้จริงในภาคธุรกิจไทย


5 Minute Brief

Ai is Now คำนี้เป็นจริงแล้วในปัจจุบัน และไม่ได้ไกลตัวเราเลย เพราะมาเร็วและใกล้ตัวคนไทย และใกล้ตัวเราเรามากสุดๆจริงๆ และเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 23 พฤษภาคม 2018 Microsoft จัดงาน Azure Summit 2018 “AI Is Now” พร้อมดึง 2 บริษัทชั้นนำของไทย แสดงผลงานระบบ AI ที่พร้อมตอบโจทย์และใช้จริงในไทยแล้ว บนระบบคลาวด์ Microsoft Azure โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้


รายงานวิจัยของ Microsoft และ IDC ที่ทำร่วมกันในปีนี้ คาดการณ์ว่ากว่า 40% ของกระบวนการ Digital Transformation ภายในปี 2562 จะมี AI เข้ามามีบทบาทเสริมและสนับสนุน และในปี 2563 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า จะมีองค์กรถึง 85% นำ AI มาประยุกต์ใช้งาน และอีก 7 ปีข้างหน้า ผู้ใช้งานทั่วไป 95% จะขับเคลื่อนด้วยพลัง Ai และในปีนี้ 2018 แอปพลิเคชั่นที่เราใช้งานอยู่มากถึง 50% จะมีแอปที่มาพร้อม AI อยู่ในนั้นด้วย

Ai is Now

นานธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ Microsoft ประเทศไทย เผย แนวโน้มการเคลื่อนไหวเหล่านี้ถึงเป็นการยืนยันถึงมุมมองของ Microsoft ว่า โลกของเราก้าวมาถึง Intelligent Cloud และ Intelligent Edge ที่จะได้เห้ฯการถ่ายทอดความสามารถของเทคโนโลยีอันชาญฉลาดจาก Cloud ลงมาสู่ Devices ต่างๆ ที่ผู้ใช้ทุกคน ทุกรดับ สามารถนำไปใช้งานร่วมกันในชีวิตประจำวัน

Ai is Now

วันนี้ทุกโปรดักส์ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น Office 365 , Office 2016 , Outlook ( Hotmail ) , Windows 10 ,Microsoft Azure จะมาพร้อม AI หมด ดังนั้น AI อยู่ใกล้ตัวผู้ใช้มาก ทั้งบนคอมพิวเตอร์และมือถือ
ยกตัวอย่างเช่น Outlook ที่จะโฟกัสอีเมลสำคัญจากผู้ส่งแบบ Focus ให้คุณอ่านก่อน จดหมายอื่นๆ ที่เต็มไปด้วยจดหมายข่าวหรือโฆษณา หรือ Microsoft PowerPoint ที่ทันทีที่ใส่รูปภาพ ระบบก็จะออกแบบสไลด์ผ่าน Design Idea ให้เหมาะสมกับงานนำเสนอโดยอัตโนมัติ รวมถึงสามารถวาดเขียนแล้วกลายเป็นตัวพิมพ์ได้ การเสนอแนวทางการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลดิบที่ผู้ใช้กรอกใน Excel และอื่นๆอีกมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่ง Windows 10 ก็มี AI มาช่วยทำงานอย่าง Story Remix ที่ช่วยตัดต่อวีดีโออย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องคิด Storyboard

3 ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อน AI ให้แพร่หลาย

· ทรัพยากรข้อมูล – กลไกและแนวทางในการค้นหา คัดเลือก และจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากมาย

· บุคลากร – ความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์หรือประยุกต์ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่เกิดประโยชน์กับองค์กร ผู้ใช้งาน หรือสังคม

· ความเข้าใจ – นอกจากทักษะและความเข้าใจเชิงเทคนิคของผู้พัฒนา AI เองแล้ว ความไว้เนื้อเชื่อใจในเทคโนโลยี AI และความมั่นใจในประสิทธิภาพหรือความแม่นยำของระบบก็มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมนี้เช่นกัน

“ประเด็นด้านความเข้าใจของสังคมที่มีต่อเทคโนโลยี AI ถือเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย นอกจากแง่มุมด้านเทคโนโลยีแล้ว การใช้งาน AI อย่างแพร่หลายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการวางมาตรฐานที่ชัดเจนในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใสในการทำงาน และความรับผิดชอบของผู้พัฒนา เป็นต้น โดยการพัฒนา AI จะต้องมีวัตถุประสงค์หลักคือการส่งเสริมให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น มากขึ้น หรือทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อน ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่มนุษย์แต่อย่างใด” นายธนวัฒน์ กล่าวเสริม

Ai is Now

ภายในงานเสวนา AI Is Now นี้ Microsoft ได้เชิญ บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำของไทยอย่าง ดิจิตอล ไดอะล็อก และ ฟรอนทิส ได้ร่วมนำเสนอผลงานการพัฒนาโซลูชั่น AI ที่สามารถใช้งานได้จริงแล้วในภาคธุรกิจ เพื่อเน้นย้ำถึงความพร้อมทั้งเชิงเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับนวัตกรรม AI ในประเทศไทย

Ai is Now


คุณจิดาภา วัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิตอล ไดอะล็อก จำกัด กล่าวว่า “เทคโนโลยี AI และบอทจะช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร พนักงาน และลูกค้า มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างชัดเจน ตลอดจนสามารถเป็นผู้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น โดยแต่ละองค์กรสามารถปรับแต่ง AI ให้เข้ากับรูปแบบการทำงานของตนเองได้อย่างลงตัว ที่สำคัญการเริ่มต้นนำระบบ AI มาใช้งานในเชิงธุรกิจไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป

Ai is Now

โดยเราจัดทำโซลูชั่น CUBIK Chat สามารถพัฒนาให้พร้อมใช้งานจริงได้ในเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น โดยแชทบอทในรูปแบบนี้สามารถจัดการกับคำถามจากลูกค้าได้ในปริมาณที่มากกว่ามนุษย์นับสิบเท่า ตอบโต้กับคู่สนทนาด้วยภาษาไทยผ่านระบบ Natural Language Processing (NLP) รองรับการทำธุรกรรมหลายรูปแบบ เช่นการชำระค่าบริการ สั่งซื้อสินค้า หรือจองตั๋วเครื่องบินและที่พัก เป็นต้น ทั้งยังสามารถส่งคำถามต่อให้กับเจ้าหน้าที่ในศูนย์บริการลูกค้ามารับช่วงได้อย่างไร้รอยต่อ คุณสมบัติเหล่านี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มยอดขาย ส่วนตัวบอทเองก็ยังมีระบบ Machine Learning ที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาความสามารถได้จากข้อมูลการตอบโต้กับลูกค้าในสถานการณ์จริง ซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุดิบสำหรับฝึกฝนบอทต่อไป โดยโซลูชั่น CUBIK Chat ของดิจิตอล ไดอะล็อก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายสถานการณ์ เช่นในกรณีตัวอย่างของแชทบอทภายในองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายประสานงานของแผนกทรัพยากรบุคคล สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานได้อย่างครบถ้วนและแม่นยำในระดับรายบุคคล เช่นการแนะนำวันลาพักร้อนในช่วงที่เหมาะสม หรือการแจ้งเตือนหมดเขตสวัสดิการพนักงานเป็นต้น โดยไม่ต้องให้พนักงานกังวลมากังวลถามกับพนักงานที่เป็นมนุษย์จริงๆ ทั้งนี้ ดิจิตอล ไดอะล็อก ยังเป็นผู้พัฒนาแชทบอท “ฟ้า” ให้กับการบินไทย คอยตอบข้อซักถามจากลูกค้าผ่านทางหน้าเว็บไซต์ด้วย

Ai is Now

อีกบริษัทนึงคือ บริษัท ฟรอนทิส จำกัด ที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Consulting) และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร (Digital Transformation) ได้จัดแสดงตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยี Cognitive Services ที่ช่วยนำมาพลิกโฉมองค์กรด้วย AI เช่น

การสแกนและเปรียบเทียบพิกัดสามมิติบนใบหน้าของพนักงานเพื่อควบคุมการเข้าออกและรักษาความปลอดภัยในอาคารของบริษัท การใช้ AI จดจำใบหน้าของลูกค้าคนสำคัญและใช้ Predictive Analytics เพื่อเสนอสินค้าที่โดนใจ รวมทั้งการยืนยันตัวตนขณะเข้าใช้บริการจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ เป็นต้น

Ai is Now

“โลกยุคดิจิทัลกำลังเปลี่ยนผ่านจากยุคของมือถือและคลาวด์ (Mobile First, Cloud First) สู่ยุคที่ AI จะมีบทบาทในทุกนาทีของชีวิต (AI First World) โดย Cognitive Services เปิดโอกาสให้ AI สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น การจดจำใบหน้า (Face Recognition) เพียงอย่างเดียวอาจนำไปใช้เสริมสร้างความสะดวก ความปลอดภัย และความมีประสิทธิภาพในหลายอุตสาหกรรมม่ว่าจะเป็น การยืนยันสิทธิการเข้าถึงบริการหรือระบบต่างๆ หรือแม้แต่อำนวยความสะดวกในการมอบสิทธิพิเศษให้กับสมาชิกและลูกค้าประจำของร้านค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การจดจำใบหน้ายังสามารถทำได้โดยไม่ล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ โดยระบบของเราจะเลือกบันทึกเฉพาะพิกัดที่สแกนจากใบหน้าเท่านั้น แทนที่จะบันทึกภาพถ่ายใบหน้าทั้งภาพ และยังมีการล้างฐานข้อมูลใบหน้าออกภายใน 24 ชั่วโมง ควบคู่กับมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อป้องกันการรั่วไหลอีกด้วย” คุณปริญญ์ บุญดีสกุลโชค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟรอนทิส จำกัด กล่าว

Ai is Now

การเริ่มบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( GDPR )

Microsoft ได้กล่าวถึงกฎหมายสำคัญอย่างหนึ่งคือ การเริ่มบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( GDPR ) ของสหภาพยุโรป ที่เริ่มบังคับใช้จริงแล้ววันนี้ (25 พฤษภาคม) ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ทั้งในชาติสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศอื่นๆ ที่ต้องติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลหรือองค์กรจากชาติกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น องค์กรทั่วโลกที่มีลูกค้าในชาติสหภาพยุโรปหรือต้องทำธุรกรรมกับธุรกิจในกลุ่มประเทศนี้จึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามกรอบข้อบังคับของ GDPR โดยทาง Microsoft ได้มอบหมายให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,600 คนลงมือทำงานเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐาน GDPR อย่างเคร่งครัด จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ บริการ และแพลตฟอร์มต่างๆ พร้อมรองรับความต้องการของทุกองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจภายใต้กรอบของ GDPR รวมถึงขยายสิทธิพื้นฐานหลักในกฎหมายฉบับนี้ให้กลายเป็นสิทธิของผู้ใช้และลูกค้าทุกคนทั่วโลก
โดยลูกค้าจะได้ทราบถึงข้อมูลที่ Microsoft จัดเก็บจากการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ และสามารถดาวน์โหลด แก้ไข ลบ หรือถ่ายโอนข้อมูลทั้งหมดไปจัดเก็บที่อื่นได้โดยอิสระ รวมถึงการการตรวจสอบ แก้ไข ลบ และโยกย้ายข้อมูลส่วนตัวด้วย โดยเรียกใช้งานได้ทางแดชบอร์ดความเป็นส่วนตัว (Privacy Dashboard) ที่เว็บไซต์ https://account.microsoft.com/privacy/
ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการรองรับ GDPR และเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับองค์กรที่ต้องการปฏิบัติงานตามกรอบข้อบังคับใหม่ สามารถคลิกได้ที่ https://www.microsoft.com/GDPR/

Resource : it24hrs.com