Internet of Behaviors : ขั้นกว่าของการต่อยอด Internet of Things 


5 Minute Brief

วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเฉพาะ “อินเทอร์เน็ต” ที่เกิดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2022 (Thailand Internet User Behavior 2022) พบว่าภาพรวมคนไทยใช้เน็ตมากถึงเฉลี่ย 7 ชั่วโมงต่อวัน  นอกจากนี้หากมองในแง่พฤติกรรมการใช้งานยังพบว่า ผู้ใช้งานเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้เองคำว่า Internet of Things (IoT) จึงเข้ามาอยู่ในชีวิตของคนส่วนใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

มากไปกว่านั้น บทบาทของ Internet of Things (IoT) ในทุกวันนี้ยังได้ถูกขยายไปสู่ Internet of Behaviors (IoB) โดย Gartner บริษัทให้คำปรึกษาและวิจัยชั้นนำของโลก ได้เคยจัดให้ IoB เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งปี 2021 (Top Strategic Technology Trends for 2021) อีกทั้ง Precedence Research ยังประเมินไว้ว่า ในปี 2021 IoB จะมีขนาดของตลาด (Market Size) ถึงประมาณ 391,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะมีการเติบโตถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ถึง 20.79% เลยทีเดียว  

ท่ามกลางกระแสของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว คงถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจเองก็ต้องปรับตัว วันนี้ FRONTIS เลยจะพาทุกคนมาเข้าใจและร่วมกันค้นหาโซลูชันในการนำ IoB มาใช้ประโยชน์กับองค์กร เพื่อให้สามารถถอดรหัสพฤติกรรมของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และสามารถต่อยอดไปสู่การกำหนดกลยุทธ์เพื่อคว้าโอกาสใหม่ ๆ ได้อย่างทันท่วงที 

Internet of Behaviors (IoB) คืออะไร 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ IoB กันก่อน Internet of Behaviors (IoB) คือ การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลพฤติกรรม (Behavioral Data) ของบุคคลจากหลายแหล่งรวมถึงข้อมูลในโลกดิจิทัล ข้อมูลที่ถูกเก็บและรวบรวมนั้นจะมีตั้งแต่ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้า การเดินทาง การใช้สื่อออนไลน์ ไลฟ์สไตล์ และอื่น ๆ โดยอาจเป็นข้อมูลการขายสินค้าหรือบริการ ข้อมูลจาก Social Media หรือข้อมูลจากสมาร์ตโฟนที่ได้รับการยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูล หรือพูดได้ว่า IoB จะรวบรวมข้อมูลจาก Internet of things และแหล่งอื่นที่มีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ จากนั้นจึงค่อยนำ  AI เข้ามาผนวก เพื่อทำการประมวลผลและคาดการณ์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายต่อไป 

ประโยชน์ของการใช้ IoB 

ในปัจจุบัน IoB เริ่มถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย จนได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องพบเจอหรือใช้งานทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  หรือพูดได้ว่า Internet of Behaviors (IoB) เป็นขั้นกว่าของ Internet of Things (IoT) ที่จะมาเปลี่ยนโลกของธุรกิจ ด้วยการเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีของกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงเข้าใจ Lifestyle และ Preference จากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ประโยชน์ของการนำ IoB มาปรับใช้ ตัวอย่างเช่น 

1. ตัวช่วยในการนำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าแบบเรียลไทม์ 

IoB มีส่วนช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเสนอสินค้าหรือบริการได้แบบเรียลไทม์ ด้วยการอาศัยความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูลพฤติกรรม ทำให้สามารถทำความเข้าใจในตัวลูกค้า และ Generate สินค้าหรือบริการที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล (Personalize) ได้ตรงกลุ่มกว่าการนำเสนอสินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายกว้าง ๆ ที่อาจไม่ตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งเต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งในแง่ความชอบ กำลังซื้อ และปัจจัยอื่น ๆ 

2. ตัวช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า

การเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงสินค้าหรือบริการเดิมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์และสอดรับกับความต้องการของลูกค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม มากไปกว่านั้นยังช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นลูกค้าในอนาคต ผ่านการออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่ถูกต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ตัวอย่างโครงการของ FRONTIS ที่นำ IoB มาปรับใช้จริง 

จากประโยชน์ของการใช้งาน IoB ที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นการนำ IoB มาปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้า ต่อไปเราจึงจะมาชี้ให้เห็นว่านอกจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าแล้ว ยังสามารถนำ IoB มาปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ได้อีก  

หนึ่งในตัวอย่างของโครงการที่มีความน่าสนใจและเกิดขึ้นจริงแล้ว คือ โครงการ “AI for Road Safety” ที่ FRONTIS ร่วมกับ GC และ Microsoft นำเทคโนโลยี IoB มาใช้เพื่อลดสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ผ่านการสังเกตพฤติกรรมของผู้ขับขี่แบบเรียลไทม์ เพื่อจับว่าคนขับแต่ละคนมีอาการบ่งชี้ที่นำไปสู่ความเสี่ยง เช่น เหนื่อยล้า หาว เหม่อลอยไม่มีสมาธิ และมองออกไปข้างทางนานเกินไปหรือไม่ โดยหากประมวลผลแล้วพบค่าความเสี่ยงถึงระดับที่ต้องแจ้งเตือน สัญญาณเสียงก็จะถูกส่งไปให้ทั้งผู้ขับรถและผู้ดูแลระบบ เพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้ปรับลดความเร็วหรือเตือนให้รู้ตัวว่ามีความเสี่ยง และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น  

การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กรเต็มไปด้วยความท้าทาย จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญคอยให้ความช่วยเหลือ

ท้ายที่สุด IoB ก็คือหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่มีความน่าสนใจและมีประโยชน์มากมาย แต่การนำ IoB มาใช้จริงก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ด้วยเหตุนี้เอง หลายองค์กรจึงให้ความไว้ใจ FRONTIS ได้เข้าไปช่วยงาน เพราะเราสามารถนำประสบการณ์และสิ่งตั้งต้นที่มี ช่วยให้องค์กรสามารถ Jump Start และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้เร็ว เพื่อให้เท่ากันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุค Superspeed Disruption ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก

Thailand Internet User Behavior 2022 (ETDA)

Top Strategic Technology Trends for 2021 (Gartner)

Internet of Behaviors Market Size (Precedence Research)

PTTGC, Frontis และ Microsoft เปิดตัวโครงการลดอุบัติเหตุด้วย AI (Techsauce)